บทที่ 6 หลักการและแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนร่วมสมัย


                                                                  บทที่6
หลักการและแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนร่วมสมัย

หลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลาง (Direct Instruction)
การจัดการเรียนการสอนทางตรงแบบใช้ผลการวิจัย มีองค์ประกอบสำคัญ 6ประการ
1.ครูเป็นศูนย์กลาง (teacher centrality) ครูคอยควบคุมกำกับทิศทางของการเรียนการสอน
2.เป้าหมาย (task orientation) เน้นการเรียนวิชาการ หรือเนื้อหาสาระ เป็นข้อมูลความรู้และข้อเท็จจริง
3.ความคาดหวังในทางบวก(positive expectation)ผู้สอนมีการคาดหวังว่าผู้เรียนทุกคนจะประสบผลสำเร็จในการเรียน
4.ความร่วมมือของผู้เรียนที่สามารถวัดประเมินได้( student cooperation and accountability)
5.บรรยากาศที่ปลอดภัย(nonegative affect)ผู้เรียนอยู่ในบรรยากาศที่เป็นมิตร เป็นกันเอง
6.มีกฎ ระเบียบ(esteblished structure)ผู้สอนคอยติดตามดูแลการปฏิบัติของผู้เรียนอย่างใกล้ชิด
การจัดการเรียนการสอนทางตรงแบบใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ มี 2 รูปแบบดังนี้
1.รูปแบบ “The Mastery Teaching Program”เป็นการสอนเพื่อการรู้จริง ที่พัฒนาโดยฮันเตอร์ (Hunter) ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญดังนี้
(1.)ขั้นเตรียมความพร้อมของผู้เรียน
(2.)ขั้นการให้ข้อมูลและการแสดงตัวแบบ
(3.)ขั้นตรวจสอบความเข้าใจและให้คำแนะนำ
(4.)ขั้นให้ผู้เรียนปฎิบัติตามคำแนะนำ
2.รูปแบบ“DISTAR”หรือ ระบบการสอนทางตรงเพื่อการเรียนรู้และการสอน พัฒนาโดย บีไรเทอร์-อิงเกิลแมน(Bereiter-Englemann)โปรแกรมนี้ได้รับการจัดโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเสียส่วนใหญ่ มีโครงสร้างที่รัดกุมและรายละเอียดที่ชัดเจน ผู้สอนจะต้องดำเนินการทุกอย่างตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ หากทำตามสิ่งที่กำหนดไว้ในโปรแกรมจะประสบความสำเร็จในการสอน

หลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(Student-Centered Instruction)
- แบบเน้นตัวผู้เรียน
1.การจัดการเรียนการสอนตามเอกัตภาพ(Individualized Instruction) เป็นการจัดสภาพการเรียนการสอนเป็นรายบุคคล โดยคำนึงภูมิหลังและสติปัญญา ความสามารถ ความถนัด ความสนใจและความต้องการของแต่ละคนด้วย ผู้สอนไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยผู้เรียนและทดสอบผู้เรียนก่อนเรียน
2.จัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนนำตนเอง (Self-Directed Learning) เป็นการให้โอกาสผู้เรียนวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งครอบคลุมวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ของตน การตั้งวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการเรียนรู้ การเลือกวิธีการเรียนรู้การแสวงแหล่งความรู้ โดยครูอยู่ในฐานะกัลยาณมิตร ทำหน้าที่กระตุ้นและให้คำปรึกษาผู้เรียนในการวินิจฉัยความต้องการกำหนดวัตถุประสงค์ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น

- แบบเน้นความรู้ ความสามรถ
                1.การจัดการเรียนรู้แบบรู้จริง(Mastery Learning ) เป็นกระบวนการในการดำเนินการให้ผุ้เรียนทุกคน ซึ่งมีความสามารถและสติปัญญาที่ต่างกัน สามารถเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง โดยมีการประเมินผลว่าผู้เรียนรู้จริงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดจึงจะสามารถไปเรียนตามวัตถุประสงค์อื่นได้ หากว่าผู้เรียนยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ ผู้สอนต้องหาวิธีการ มาช่วยจนผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
                2.การจัดการเรียนการสอนแบบรับประกันผล (Verification Teaching) เป็นการจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนที่ผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์ โดยผู้เรียนรับรู้มาก่อนว่าจะมีการทดสอบตามวัตถุประสงค์นั้น จากผลการทดสอบ หากผู้เรียนยังไม่เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ ผู้สอนจะต้องดำเนินการสอนซ้ำให้แก่ผู้เรียน และทำการทดสอบใหม่จนกระทั่งผู้เรียนทุกคน เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด และวัตถุประสงค์ที่กำหนดนั้นต้องเหมาะสมและเป็นไปได้สำหรับผู้เรียน
3. .การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นมโนทัศน์ (Concept-Based Instruction)เป็นการวางแผนการจัดการเรียนการสอนโดยการระบุมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับและดำเนินการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการและกระบวนการต่างๆที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจมโนทัศน์ และสามารถนำมโนทัศน์นั้นไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆได้ รวมทั้งมีการประเมินผลโดยมุ่งไปที่ความเข้าใจของผู้เรียนในมโนทัศน์นั้นๆ

- แบบเน้นประสบการณ์
                1.การจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ (Experiential Learning) เป็นการดำเนินการเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายโดยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ก่อน และให้ผู้เรียนสังเกต ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นและนำสิ่งนั้นมาพิจารณาไตร่ตรองจนเกิดความคิดรวบยอดหรือสมมติฐาน แล้วนำไปทดลองหรือประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ต่อไปได้
2.การจัดการเรียนรู้โดยรับใช้สังคม (Service Learning) เป็นการดำเนินการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยการให้ผู้เรียนเข้าไปมีประสบการณ์ในการรับใช้สังคม ทั้งนี้ผู้เรียนจะต้องมีการสำรวจความต้องการของชุมชนที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เรียน และวางแผนการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆลงมือปฏิบัติการรับใช้สังคมตามแผน และนำประสบการณ์ทั้งหลายมาคิดพิจารณา ไตร่ตรอง จนกระทั่งเกิดความคิดรวบยอด
3.การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Learning) เป็นการดำเนินการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยการให้ผู้เรียนเข้าไปเผชิญสภาพการณ์จริง ปัญหาจริง ในบริบทจริง และร่วมกันศึกษาการเรียนรู้ แสวงหาความรู้ ข้อมูล และวิธีการต่างๆเพื่อที่จะแก้ไขปัญหานั้น และได้รับผลการประเมินตามมาตรฐานคุณภาพในชีวิตจริง

- แบบเน้นปัญหา
1.การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-Based Instruction) เป็นการจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมาย โดยผู้สอนอาจนำผู้เรียนไปเผชิญกับสถานการณ์จริง หรือผู้สอนอาจจัดสภาพการณ์ให้ผู้เรียนเผชิญปัญหา และฝึกกระบวนการวิเคราะห์ และแก้ปัญหาร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเข้าใจในปัญหานั้นอย่างชัดเจน ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการใฝ่รู้ เกิดทักษะกระบวนการคิด และกระบวนการแก้ปัญหาต่างๆ
2.การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นหลัก (Project-Based Instruction) เป็นการจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้ร่วมกันเลือกทำโครงการที่ตนสนใจโดยร่วมกันสำรวจ สังเกต และกำหนดเรื่องที่ตนสนใจ วางแผนในการทำโครงการร่วมกัน ศึกษาข้อมูลความรู้ที่จำเป็น และลงมือปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้ และสรุปผลการเรียนรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ทั้งหมด
- แบบเน้นทักษะกระบวนการ
            1.การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการสืบสอบ (Inquiry Based Instruction)
           หลักการ เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่มีการใช้คำถามที่เหมาะสม นิยาม การเรียนการสอนใช้คำถามในการกระตุ้นการเรียน เพื่อให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ การสรุปข้อมูลการอภิปรายโต้แย้งทางวิชาการ และการทำงานเป็นกลุ่ม ตัวบ่งชี้ ครูผู้สอนจะมีเอกสาร กระบวนการสอน ทักษะ และการประเมินแก่ผู้เรียน
                2. การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการคิด (Thinking Based Instruction)
        หลักการ เป็นกระบวนการทางสติปัญญา ที่ต้องอาศัยสิ่งเร้า สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการคิดที่หลากหลาย นิยาม เป็นการเรียนการสอนที่ต้องใช้ทักษะและเทคนิคในการสอน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตัวบ่งชี้ ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ผู้สอนมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดได้หลากหลาย
              3. การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการกลุ่ม (Group Process Based Instruction)
             หลักการ เป็นการเน้นกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มโดยมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ซึ่งภายในกลุ่มมีการกำหนดวัตถุประสงค์ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิด นิยาม เน้นการทำงานเป็นกลุ่ม ตัวบ่งชี้ ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันภายในกลุ่ม รู้จักการวิเคราะห์ และการประเมินการเรียนทั้งด้านเนื้อหาสาระและกระบวนการกลุ่ม
                4. การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการวิจัย (Research BasedInstruction) 
         หลักการ เป็นกระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง นิยาม การสอนเน้นกระบวนการวิจัย คือ การจัดสภาพของการเรียนการสอนให้ผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัย ตัวบ่งชี้ ผู้สอนมีการนำวิจัยเข้ามาเป็นสื่อในการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้สอนและผู้เรียนมีการอภิปรายร่วมกัน และผู้สอนมีการประเมินผลการเรียนรู้ไม่ว่าจะเป็นด้านเนื้อหาสาระและกระบวนการวิจัย
               5. การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Instruction Emphasizing Self – Learning Process) 
            หลักการ ผู้เรียนมีความสนใจอยู่เป็นธรรมชาติ ดังนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องส่งเสริมการเรียนรู้ นิยาม การจัดสภาพการณ์การเรียนรู้ผู้สอนต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนหาความรู้ด้วยตนเอง ผู้สอนมีหน้าที่ให้คำปรึกษาตามความเหมาะสม ตัวบ่งชี้ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนตามความสนใจของตนเองและดำเนินการศึกษาด้วยตนเอง ส่วนผู้สอนมีการจัดเตรียมเนื้อหาและประเมินผล
  -    แบบเน้นการบูรณาการ
                หลักการ เป็นลักษณะแบบองค์รวม เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแก้ปัญหาด้วยตัวเอง และยังช่วยเปิดโลกทัศน์ของผู้สอนและผู้เรียน การเรียนการสอนน่าสนใจ น่าตื้นเต้น และสามารถคิดได้หลายแง่ได้มุม นิยาม มีการนำเนื้อที่เป็นเรื่องเดียวกันมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์รวม และสามารถนำความรู้นี้ไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตัวบ่งชี้ ผู้สอนมีการจัดเตรียมหน่วย ผู้สอนและผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกันแต่ผู้สอนมีหน้าที่ให้คำแนะนำ ส่วนผู้เรียนมีการดำเนินกิจกรรมการเรียนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
              หลักการจัดการเรียนการสอนโดยไม่มีครู (Instruction without Teacher)
            เป็นการนำโปรแกรมสำเร็จรูปเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนหรือที่เรียกว่า “Programmed Instruction” เป็นการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีเข้าเกี่ยวข้อง ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ทำให้การศึกษาพัฒนาไปอย่างมาก โดยที่ผู้เรียนสารถเรียนได้ทุกเวลา ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย และสามารถดูข้อมูลเหล่าซ้ำ ๆ ได้ แต่อย่างไรก็ตามครูยังคงมีบทบาทอื่น ๆ เช่น บทบาทในการวางแผนการเรียน การติดตามการเรียนรู้ของผู้เรียน และประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นต้น
           1.  การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป (Programmed Instruction) หลักการ มีการนำเนื้อหาที่จะเรียนมาวิเคราะห์ จากนั้นเรียงลำดับเพื่อจะนำไปเสนอโดยเรียงตามลำดับไม่มีการข้ามขั้น ผู้เรียนสามารถเข้ามาเรียนได้ตลอดเวลา โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา และผู้เรียนสามารถตรวจสอบผลของการเรียนของตนได้ นิยาม การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการเรียนจะมีการใช้คำถามเพื่อให้ผู้เรียนตอบสนองการเรียนรู้ได้ ตัวบ่งชี้ ผู้สอนมีการจัดเนื้อสาระตรงตามความต้องการของผู้เรียนได้ มีการนำเสนอเนื้อเป็นขั้นตอนและประหยัดเวลา
   

                2. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer – Assisted Instruction) หรือ CAI 
หลักการ การนำเทคโนโลยีเข้ามาสอนทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มีประโยชน์ต่อผู้เรียนและผู้สอนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานอื่น ๆ นิยาม การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสอนเป็นการขยายขอบเขต เป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายและมีรูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอมีความหลากหลาย ตัวบ่งชี้ ผู้เรียนมีการดำเนินการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด และสามารถตรวจสอบผลการเรียนได้
                3.การจัดการเรียนการสอนทางไกล (Distance Instruction) 
หลักการ การเรียนการสอนทางไกลผู้เรียนสามารถเรียนผ่านสื่อโทรคมนาคม โดยผู้สอนถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อมวลชนเปรียบเสมือนการเรียนปกติ นิยาม ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ต่างสถานที่แต่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กันและกันได้ โดยมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เทปบันทึกเสียง เป็นต้น ตัวบ่งชี้ ผู้สอนสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้เรียนได้โดยอยู่ต่างสถานที่กัน
                4. การจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายเวิลด์ ไวด์ เว็บ (Web - Based Instruction)
หลักการ เป็นการเรียนรู้ผ่านเวิลด์ ไวด์ เว็บผ่านคอมพิวเตอร์ โดยที่ผู้เรียนสามารถได้ทุกเวลา สถานที่และง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูล นิยาม การเรียนผ่านเวิลด์ ไวด์ เว็บ เปรียบเสมือนห้องเรียนเสมือนที่ผู้เรียนและผู้สอนมีการติดต่อสื่อสารกันได้ผ่านเครือข่ายเวิลด์ไวด์เว็บ ตัวบ่งชี้ ผู้สอนมีการออกแบบห้องเรียนมีการปฐมนิเทศ เพื่อให้เหมือนจริง ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถทำแบบทดสอบตรวจผลการเรียนได้ด้วยตนเอง
               
 ทิศนา แขมมณี. 2552. ศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.